เกร็ดความรู้ » วิธีเลือกม่านให้เหมาะกับบ้าน และช่วยลดค่าไฟไปในตัว !

วิธีเลือกม่านให้เหมาะกับบ้าน และช่วยลดค่าไฟไปในตัว !

24 พฤษภาคม 2017
1125   0

รู้หรือไม่ว่าการเลือกผ้าม่านดี จะทำให้คุณมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะหากเลือกผ้าม่านได้เหมาะไม่ได้ช่วยให้บ้านดูสวยขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถลดค่าไฟได้ด้วยนะ

แม้ผ้าม่านจะมีหลายรูปแบบ หลากสี และลวดลายมากมายให้เลือกสรร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผ้าม่านเหล่านั้นจะเข้ากับบ้านของเราไปเสียทุกแบบ หากอยากรู้ว่าเลือกผ้าม่านอย่างไรให้เหมาะกับบ้านของเรา พร้อม ๆ กับการค้นหาคำตอบเรื่องการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าไฟอยู่ละก็ แค่เลือกผ้าม่านให้ดีก่อนนำมาติดตั้งด้วยวิธีการเลือกผ้าม่านเหล่านี้เท่านั้นเอง

ตรวจเช็กลิสต์ก่อนเลือกผ้าม่าน

ถ้าอยากจะรู้ว่าเลือกผ้าม่านอย่างไรให้เหมาะกับบ้านของเรา ต้องเริ่มจากการสำรวจบรรยากาศรอบ ๆ ของหน้าต่างและห้องว่าเป็นอย่างไรตามเช็กลิสต์ต่อไปนี้เสียก่อน

หน้าต่างหันหน้าไปทางทิศใด ?

หน้าต่างเป็นแบบใด (กระจกใสหรือแบบทึบ ฯลฯ) ?

แสงที่เข้ามาทางหน้าต่างในแต่ละช่วงของวัน ?

ความสูงของหน้าต่าง

ปัญหาที่พบเป็นประจำ (เสียงจากภายนอก แสงจากไฟถนน ฯลฯ )

ประเภทของม่านหน้าต่าง

ภาพจาก trendenser

1. ผ้าม่าน

ผ้าม่านก็คือผ้าม่านยาว ๆ ที่แขวนตะขอห้อยไว้กับรางแขวนนั่นเอง ซึ่งเป็นประเภทของผ้าม่านที่เข้ากันได้ดีกับทุกสภาพอากาศ เพราะม่านประเภทนี้เปรียบเสมือนผ้าห่มช่วยกันหนาวเมื่อลมเย็น ๆ มาเยือน ในทางตรงกันข้ามยังเป็นเหมือนกันแดดชั้นดีเมื่อเข้าสู่หน้าร้อน อีกทั้งยังทำให้บรรยากาศภายในดูอบอุ่นและสวยงามด้วยแสงแดดอ่อน ๆ ที่ลอดผ่านเนื้อผ้าเข้ามา

ภาพจาก inmyownstyle

 

ภาพจาก ammtools

2. มู่ลี่

มู่ลี่มีทั้งชนิดที่เป็นไม้และพลาสติก มีตั้งแบบแนวตั้งและแนวนอนเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพอากาศที่หลากหลาย แต่เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบที่เป็นฉนวน ดังนั้นจึงอาจช่วยกันได้แค่แสง แต่ไม่สามารถกันความร้อนหรือความเย็นจากภายนอกอาคารได้มากนัก

ภาพจาก sunshadeawnings

3.กันสาด

กัดสาดไม่ได้ติดไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น เพราะยังช่วยกันแดด ฝน และลมได้ดี พร้อมทั้งมีส่วนในการกักเก็บความอบอุ่นเมื่อมีลมหนาว แถมยังสามารถลดความร้อนจากแสงแดดได้ถึง 77% เลยทีเดียว

รู้แบบนี้แล้วใครที่ไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ๆ ตอนสิ้นเดือน ก็อย่าลืมเลือกประเภทม่านให้เหมาะกับบ้านของคุณด้วย เพราะจะได้ช่วยกันประหยัดพลังงานให้มีไว้ใช้กันนาน ๆ แถมจะได้มีเงินเก็บเงินออมไว้สำหรับอนาคตอีกทางหนึ่งด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก inhabitat และ  energy.gov และ Kapook.com